4 เคล็ดลับ คนอยากมีบ้าน ยื่นกู้อย่างไรให้ผ่าน

หลายคนก็อยากมีสินทรัพย์ที่เป็นของตนเองและครอบครัว โดยสิ่งแรกที่นึกถึง คือ การมีบ้านสักหลังเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยกับคนที่เรารัก ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

เนื่องจากในปัจจุบันมีระบบสินเชื่อสมัยใหม่ พร้อมด้วยการบริหารจัดการของธนาคารผู้ให้สินเชื่อที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น มาสำรวจความพร้อมก่อนกู้บ้านกับธนาคารออมสินกันเลยดีกว่า



1. มองหาบ้านที่เหมาะสม
  • การเลือกทำเลที่ตั้งถือเป็นปัจจัยต้นๆ เพราะการเดินทางในแต่ละวัน ก็คือรายจ่ายในแต่ละเดือน เราจึงต้องคำนวณเส้นทางและการเดินทางเป็นอย่างดี อีกหนึ่งปัจจัยหลักและเป็นปัจจัยสำคัญที่หนีไม่ได้ ก็คือ ราคาบ้าน หากราคาบ้านที่สูงจนเกินไป ก็จะเป็นภาระหนักอึ้งของแต่ละเดือน
  • ฉะนั้นการคำนวณค่างวดรายเดือนง่ายๆ ก็คือ ไม่เกิน 20-30% ของรายรับต่อเดือน เช่น เงินเดือน 10,000 บาท ค่าผ่อนบ้านก็ไม่ควรเกิน 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งโดยปกติแล้วธนาคารจะพิจารณาสัดส่วนเงินงวดต่อรายได้สุทธิ หรือ Monthly Payment to Net Income Ratio ไม่เกิน 33%
2. เก็บเงินดาวน์ให้ได้
  • สิ่งสำคัญในการขอสินเชื่อบ้านให้ได้ง่ายขึ้น ก็คือ “เงินดาวน์” ยิ่งเรามีเงินดาวน์บ้านมาก โอกาสที่เราจะกู้ผ่านก็ยิ่งมากขึ้น ปกติเงินดาวน์บ้านมักจะอยู่ที่ 10-20% ของราคาบ้าน เช่น ราคาบ้าน 1 ล้านบาท เราควรมีเงินดาวน์อย่างน้อย 1 แสนบาท โดยธนาคารจะพิจารณาสินเชื่อจากรายได้ของผู้กู้ และผู้ร่วมกู้เป็นหลัก
  • โดยการให้กู้จะประมาณ 30-40 เท่าของรายได้ เช่น ถ้าคุณมีเงินเดือน 100,000 บาท (รวมกันกับผู้ร่วมกู้) จะได้วงเงินกู้สูงสุด 3-4 ล้านบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของอาชีพ และความมั่นคงของรายได้ ยิ่งถ้าหากเรามีเงินดาวน์บ้านประมาณ 20% ของราคาบ้าน การยื่นกู้ก็จะผ่านได้ง่ายขึ้น


3. จัดการกับหนี้สินที่มีอยู่เดิมให้หมด
  • การยื่นขอสินเชื่อบ้านนั้น ธนาคารมักจะพิจารณาภาระหนี้สินอื่นๆ ที่คุณมีอยู่ด้วย เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล หรือสินเชื่อรถยนต์ เพราะถ้ายังมีหนี้สินค้างอยู่ ธนาคารจะนำมาพิจารณาความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ของคุณ ยิ่งถ้าเราเคลียร์หนี้สินอื่นๆ ให้หมดก่อนแล้วนั้น จะทำให้ช่วยแบ่งเบาภาระในการผ่อนสินเชื่อบ้านของคุณได้อีกด้วย
4. จงเรียนรู้เงื่อนไขของธนาคาร
  • หลักคุณสมบัติที่ผู้กู้ต้องคำนึงถึง ได้แก่
  • อายุของผู้กู้ เมื่อรวมกับจำนวนปีที่ขอกู้แล้วจะต้องไม่เกิน 70 ปี
  • ผู้กู้ร่วมรายอื่น นอกจากผู้ที่เป็นคู่สมรส บิดามารดา พี่น้อง หรือบุตรแล้ว จะมีผู้กู้ร่วมคนอื่นได้อีกไม่เกิน 1 คน
  • · ผู้กู้ร่วมที่ไม่ใช่คู่สมรส และบุตร จะต้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ที่จำนองด้วย
  • · ประวัติการชำระหนี้ ในกรณีที่ผู้กู้ต้องการขอกู้เงินเพื่อไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่นๆ ผู้กู้ต้องมีประวัติการชำระหนี้ดีมาแล้วอย่างน้อย 12 งวด

อย่างไรก็ตามข้อมูลต่างๆ ข้างต้นเป็นเพียงหลักเกณฑ์การวิเคราะห์สินเชื่อทั่วไป หากเป็นสินเชื่อสวัสดิการ หรือสินเชื่อโครงการพิเศษต่างๆ ธนาคารอาจผ่อนปรนเงื่อนไขการกู้ได้

สุดท้ายเราจะต้องสำรวจความพร้อมของผู้กู้เสียก่อน และอย่าลืมเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อการยื่นขอสินเชื่อด้วย เห็นไหมล่ะว่าสินเชื่อเพื่อสิ่งที่คุณฝันไม่ยากอย่างที่คิด

ขอขอบคุณ
advertising

Share this

Previous
Next Post »