รัฐแจกหนัก 1000-2000 ทุกคนมีสิทธิ์ได้ สู้ COVID-19 งบ 14 ล้าน มีเฮ




กระทรวงการคลัง เตรียมชงแจกเงินสด เยียวยาลดผลกระทบสู้ COVID-19 ครอบคลุมทุกกลุ่มกว่าแสนล้านบาท เผยมีผู้ได้รับเงิน 14 ล้านคน ยันไม่เกี่ยวชิมช้อปใช้-บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

วันที่ 4 มีนาคม 2563 แนวหน้า รายงานว่า นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอที่ประชุม ครม. ในวันที่ 6 มีนาคม 2563 เรื่องมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โคโรนาไวรัส หรือ COVID-19 ซึ่งมาตรการชุดแรกคาดว่าใช้วงเงินกว่าแสนล้านบาท ครอบคลุมผู้ประกอบการ ภาคการท่องเที่ยว เอสเอ็มอี คนระดับกลาง ผู้มีรายได้น้อย เพราะถือเป็นวิกฤตของหลายประเทศทั่วโลก เหมือนกับเหตุการณ์สึนามิ ยันไม่กระทบต่อวินัยการเงิน การคลัง แต่เพื่อต้องการให้ทุกกลุ่มอยู่รอด




สำหรับชุดมาตรการครั้งนี้ กำหนดเป็นมาตรการชั่วคราวให้มีผลทันทีในช่วงระยะ 3-4 เดือนข้างหน้า ในส่วนของผู้มีรายได้น้อย เตรียมเสนอการโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ เพื่อลดภาระค่าครองชีพ ครอบคลุมประชาชนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มอาชีพอิสระ และภาคเกษตร อาจจ่ายเงินเป็นรายเดือนระยะหนึ่ง

ทั้งนี้ ผู้ที่ร่วมโครงการจะต้องลงทะเบียน ขณะนี้มีข้อมูลผู้มีรายได้น้อยที่เข้าข่ายจากกองทุน กอช. และกองทุน สปสช. บ้างแล้ว เมื่อได้รับโอนเงินก็สามารถกดเป็นเงินสดไปใช้ได้ทันที เพื่อให้เกิดความง่ายในการใช้จ่าย คาดว่าจะมีผู้รับประโยชน์ 14 ล้านคน ซึ่งไม่เกี่ยวกับมาตรการชิมช้อปใช้ และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่ผู้ถือบัตรบางส่วนที่เข้าเกณฑ์ก็จะได้รับการแจกเงินด้วย ส่วนจำนวนเงินกำลังพิจารณาว่าจะแจกเท่าไร ระหว่าง 1,000-2,000 บาท

สำหรับการช่วยเหลือคนมีรายได้ระดับกลาง ช่วยภาระหนี้บัตรเครดิต เช่น ธ.ออมสิน เปิดรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตจากสถาบันการเงินอื่นหลายใบ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากโคโรนาไวรัส ด้านการช่วยเหลือผู้ประกอบการ หลังจาก ธปท. ประกาศผ่อนกฎเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เพิ่มแหล่งทุนให้ผู้ประกอบการ โครงการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ และนำไปปล่อยกู้ต่อกับประชาชนและผู้ประกอบการ เป็นการปล่อยกู้ช่วยเหลือเหมือนกับเหตุการณ์สึนามิ ส่วนผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว ใช้นโยบายจูงใจภาษีดูแลเอกชน เช่น เมื่อนักท่องเที่ยวลดลง ไม่ออร์เดอร์เข้ามา นำเงินเดือน ค่าจ้าง ไม่รวมเงิน OT หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 1 เท่า และมีกองทุนตั้งขึ้นมาใหม่เข้ามาช่วยดูแล






ขณะที่กลุ่มพนักงานด้านท่องเที่ยวที่ไม่มีงานทำช่วงนี้ กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อฝึกอบรมเพิ่มเติมความรู้ให้บุคลากร ด้วยการจัดอบรมสัมมนาตามโรงแรม รีสอร์ต เพื่อเติมสภาพคล่องอีกทางหนึ่ง ในส่วนของชุดมาตรการครั้งต่อไป เสนอมาตรการการดูแลผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการ ซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งในการดูแลกำลังซื้อของประชาชน รวมทั้งโครงการ ชิมช้อปใช้ เฟส 4 ในการส่งเสริมประชาชนออกไปท่องเที่ยว จะเป็นอีกมาตรการที่นำออกมาช่วยเหลือในภายหลังเพิ่มเติม

ขอขอบคุณ ข่าวสด
advertising

Share this

Previous
Next Post »