ไม่รู้ว่าพอได้เห็นข่าวนี้แล้ว... คนที่เรียนจบใหม่และมีความฝันจะเป็นข้าราชการ
จะ “เสียกำลังใจ” มากน้อยแค่ไหน เพราะมีความเป็นไปได้จากปากคำของ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ว่าในการประชุมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบาย กำลังคนภาครัฐ (คปร.) เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการพิจารณามาตรการลดจำนวนข้าราชการพลเรือน
000 จากที่ผ่านมาแม้ได้มีการยุบอัตราตำแหน่งข้าราชการบางส่วน หลังจากมีผู้เกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่ก็มีส่วนราชการบางแห่งยื่นขออัตราตำแหน่งที่ถูกยุบกลับคืน เพื่อทดแทนส่วนของผู้ที่เกษียณอายุราชการ ซึ่งคปร.อนุมัติคืนให้บ้าง ไม่คืนให้บ้าง แต่จากนี้ไป คปร.จะกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถควบคุมหรือลดอัตราตำแหน่งข้าราชการในส่วนที่ไม่จำเป็น โดยพยายามให้เปลี่ยนไปใช้พนักงานราชการมากขึ้น
มาตรการตรงนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จริงดังว่าที่ไม่มีความชัดเจน เพราะที่ผ่านมาบางหน่วยงานก็ขอเพิ่มอัตราได้ บางหน่วยงานขอไม่ได้ ทั้งที่ให้เหตุผลไปแบบเดียวกัน ก็เลยเป็นความ “ลักลั่น” ในแวดวงข้าราชการมายาวนาน แม้แต่การสอบ “ครูผู้ช่วย” ที่อยู่ระหว่างเตรียมจัดการสอบเร็วๆ นี้ก็แบบเดียวกัน ทุกวันนี้ “ครู” ทั่วประเทศ ขาดแคลนมหาศาล แต่ก็ยังมี “ครูอัตราจ้าง” เต็มบ้านเต็มเมือง
เป็นครูที่ทำสัญญารายปี ไม่ได้มีสวัสดิการแบบข้าราชการทั่วไป และถูกเปรียบเปรยเลวร้ายถึงขั้นสวัสดิการแย่เสียกว่า “สาวโรงงาน” แล้วอย่างนี้จะมีจิตใจสอนเด็กให้เป็นคนดี มีความรู้ทางวิชาการได้อย่างไร ที่สำคัญในขณะที่คัดเลือกครู มีการกำหนดกติกา ต้องมี “ใบประกอบวิชาชีพครู” ถึงกับเถียงกันแทบเป็นแทบตาย แต่กับครูชั่วคราวกลับระบุคุณสมบัติไว้เพียงผิวเผิน ที่บางคนเพียงเป็น “หลานผอ.” ก็เป็นครูได้
อาจารย์วิษณุ บอกว่าบางหน่วยงานที่จำเป็นต้องเพิ่มอัตรากำลังข้าราชการ ก็ทำได้อย่างในกรณีเป็นหน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งให้เหตุผลที่ฟังแล้วค่อนข้าง “เศร้าใจ” ว่าการเปลี่ยนไปใช้บุคลากรที่เป็นพนักงานราชการนั้น มีข้อดีคือทำให้รัฐบาลไม่ต้องเสียงบประมาณสำหรับการจ่ายเงินบำนาญ ขณะที่การประเมินผลงานก็อาจไม่จำเป็นต้องทำทุก 4 ปี แต่อาจจะมีการพิจารณาให้เร็วขึ้นกว่านั้น...แล้วการงานที่ไม่มั่นคงแบบนี้จะหาคนที่ “มีใจ” เข้าสู่ราชการอย่างไร
ทุกวันนี้งานในภาคเอกชน แม้จะไม่มี “บำนาญ” แต่การที่ก็มีสวัสดิการแบบ แถมยังค่าตอบแทนสูงที่พอจะทดแทนกันได้ ที่สำคัญสามารถเติบโตได้ตามความสามารถ โดยไม่ต้องอาศัยเป็นว่าเป็น “เด็กใคร” ?!!
...........................................
อัชชาวดี aucha.naru@gmail.com
จะ “เสียกำลังใจ” มากน้อยแค่ไหน เพราะมีความเป็นไปได้จากปากคำของ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ว่าในการประชุมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบาย กำลังคนภาครัฐ (คปร.) เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการพิจารณามาตรการลดจำนวนข้าราชการพลเรือน
000 จากที่ผ่านมาแม้ได้มีการยุบอัตราตำแหน่งข้าราชการบางส่วน หลังจากมีผู้เกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่ก็มีส่วนราชการบางแห่งยื่นขออัตราตำแหน่งที่ถูกยุบกลับคืน เพื่อทดแทนส่วนของผู้ที่เกษียณอายุราชการ ซึ่งคปร.อนุมัติคืนให้บ้าง ไม่คืนให้บ้าง แต่จากนี้ไป คปร.จะกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถควบคุมหรือลดอัตราตำแหน่งข้าราชการในส่วนที่ไม่จำเป็น โดยพยายามให้เปลี่ยนไปใช้พนักงานราชการมากขึ้น
มาตรการตรงนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จริงดังว่าที่ไม่มีความชัดเจน เพราะที่ผ่านมาบางหน่วยงานก็ขอเพิ่มอัตราได้ บางหน่วยงานขอไม่ได้ ทั้งที่ให้เหตุผลไปแบบเดียวกัน ก็เลยเป็นความ “ลักลั่น” ในแวดวงข้าราชการมายาวนาน แม้แต่การสอบ “ครูผู้ช่วย” ที่อยู่ระหว่างเตรียมจัดการสอบเร็วๆ นี้ก็แบบเดียวกัน ทุกวันนี้ “ครู” ทั่วประเทศ ขาดแคลนมหาศาล แต่ก็ยังมี “ครูอัตราจ้าง” เต็มบ้านเต็มเมือง
เป็นครูที่ทำสัญญารายปี ไม่ได้มีสวัสดิการแบบข้าราชการทั่วไป และถูกเปรียบเปรยเลวร้ายถึงขั้นสวัสดิการแย่เสียกว่า “สาวโรงงาน” แล้วอย่างนี้จะมีจิตใจสอนเด็กให้เป็นคนดี มีความรู้ทางวิชาการได้อย่างไร ที่สำคัญในขณะที่คัดเลือกครู มีการกำหนดกติกา ต้องมี “ใบประกอบวิชาชีพครู” ถึงกับเถียงกันแทบเป็นแทบตาย แต่กับครูชั่วคราวกลับระบุคุณสมบัติไว้เพียงผิวเผิน ที่บางคนเพียงเป็น “หลานผอ.” ก็เป็นครูได้
อาจารย์วิษณุ บอกว่าบางหน่วยงานที่จำเป็นต้องเพิ่มอัตรากำลังข้าราชการ ก็ทำได้อย่างในกรณีเป็นหน่วยงานที่ถูกตั้งขึ้นมาใหม่ พร้อมทั้งให้เหตุผลที่ฟังแล้วค่อนข้าง “เศร้าใจ” ว่าการเปลี่ยนไปใช้บุคลากรที่เป็นพนักงานราชการนั้น มีข้อดีคือทำให้รัฐบาลไม่ต้องเสียงบประมาณสำหรับการจ่ายเงินบำนาญ ขณะที่การประเมินผลงานก็อาจไม่จำเป็นต้องทำทุก 4 ปี แต่อาจจะมีการพิจารณาให้เร็วขึ้นกว่านั้น...แล้วการงานที่ไม่มั่นคงแบบนี้จะหาคนที่ “มีใจ” เข้าสู่ราชการอย่างไร
ทุกวันนี้งานในภาคเอกชน แม้จะไม่มี “บำนาญ” แต่การที่ก็มีสวัสดิการแบบ แถมยังค่าตอบแทนสูงที่พอจะทดแทนกันได้ ที่สำคัญสามารถเติบโตได้ตามความสามารถ โดยไม่ต้องอาศัยเป็นว่าเป็น “เด็กใคร” ?!!
...........................................
อัชชาวดี aucha.naru@gmail.com