หลายคนคงคิดเหมือนกันว่า ก่อนจะ “รวย” ต้องมีเงิน ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่ผิดค่ะ แต่คนรวยหลายคน โดยเฉพาะมหาเศรษฐีทั้งในและต่างประเทศ พวกเขาไม่ได้เริ่มจากการมีเงินนะคะ แต่พวกเขาเริ่มจากตัวเอง ซึ่งวิธีเหล่านี้ก็เป็นวิธีง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถ “สร้าง” ให้เกิดกับตัวเองได้
1. ทำใจให้เต็ม โดยไม่ต้องใช้เงินเติม
“คนเราจะทำอะไรก็ได้เพื่อให้ตัวเองมีความสุข” แต่ถ้าสิ่งที่ทำ ไม่สามารถถมใจให้เต็ม หรือไม่สามารถมีความสุขจากภายในได้ เราก็มักจะต้องใช้ “เงิน” เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสิ่งของหรือบริการ มาเติมเต็ม .. แต่เมื่อเงินหมด ความสุขก็พร่อง
ดังนั้น สิ่งแรกที่ควรทำคือ “ทำใจให้เต็มโดยไม่ต้องใช้เงินเติม” ทำตัวเองให้มีความสุขจากข้างใน ทำตัวเองให้มีความสุขเพราะตัวเราเองเป็นปัจจัย ไม่ต้องเอาไปแขวนไว้กับสิ่งของ หรือการตอบสนองของคนอื่น
นอกจากจะเป็นคนที่มีความสุขแล้ว เรายังไม่ต้องใช้จ่ายเงินมากมาย แถมยังช่วยให้เรามีเงินเก็บสำหรับการออม หรือเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ
2. มีวินัยต่อตนเอง
การมีวินัยกับตัวเองในเรื่องอื่นๆ จะเสริมให้เรามีวินัยเรื่องการเงินเพิ่มขึ้น ถ้าเรารักษาสัญญาที่ให้ไว้กับตัวเองและคนอื่นได้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ เช่น ตื่นเช้าทุกวัน ไปตรงตามเวลานัด ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะมีวินัยเรื่องการเงิน เพราะเราซื่อสัตย์ต่อตัวเอง
3. ตั้งเป้าหมาย
คนที่มีเงินเก็บเงินหลักล้านหรือคนที่มีธุรกิจร้อยล้านในช่วงที่อายุยังน้อย ส่วนใหญ่ทุกคนมี “เป้าหมาย” เพราะการตั้งเป้า จะทำให้เราสามารถเขียนแผนออกมาได้ ยิ่งเป้าชัด แผนก็ยิ่งละเอียด เมื่อแผนละเอียด เราก็สามารถทำตามแผนได้ง่าย สุดท้าย แม้ว่าเราจะไปไม่ถึงดวงจันทร์ แต่เราก็จะได้อยู่ท่ามกลางดวงดาวนะคะ
4. ไม่มี ไม่ยืม ไม่ผ่อน
เมื่อไม่มีเงิน ถ้าไม่มีความรู้เรื่องการเงิน ก็ไม่ควรยืม หรือผ่อนจ่าย โดยเฉพาะเพื่อซื้อหาในสิ่งที่ “ไม่จำเป็น” การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ เพราะนอกจากเราจะต้องคืนเงินต้นแล้ว ลองคำนวณดอกเบี้ยดู เผลอๆ อาจเกินยอดเงินที่เรายืมมาก็ได้นะคะ
ลองถามตัวเองดู ว่าที่อยากได้ เพราะจำเป็นต้องใช้ หรือเพราะอยากมีไว้อวดใคร
5. เริ่มออมตั้งแต่ยังมีเงินน้อย
การออมเงิน ไม่จำเป็นต้องรอให้มีเยอะก่อนแล้วค่อยออม เพราะคนที่จะดูแลอาณาจักรได้ดี ต้องดูแลบ้านของตัวเองให้ดีซะก่อน ส่วนคนที่จะดูแลบ้านได้ดี ก็ต้องดูแลห้องของตัวเองให้ดีก่อนเช่นกัน เริ่มจากน้อยๆ ฝึกวินัยของตัวเองไปเรื่อยๆ
ถ้าเริ่มออมเงินหลักสิบหลักร้อยไม่ได้ คิดเหรอคะ ว่าจะไม่เผลอแบ่งเงินหลักแสนหลักล้านไปเพิ่มความสุข (จากภายนอก) ให้ตัวเอง
6. โฟกัสกับการ “สร้างเงิน”
คนที่มีเงินมาก การออมนั้นสำคัญเพราะทำให้เขามีเงินก้อน แต่เงินที่เพิ่มทวีคูณส่วนใหญ่มาจากการลงทุน หรือการสร้างรายได้ที่เป็น Passive Income นำเงินมาปลูก ใส่ปุ๋ยพรวนดินให้ออกดอกออกผล ย่อมดีกว่าการนำเงินใส่ตุ่มแล้วขุดดินฝังไว้
7. ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด
แต่เวลา และสุขภาพ เป็นเรื่องที่ ถ้าใช้เงินจ่ายได้ ควรใช้เงินจ่ายค่ะ เงินอาจจะซื้อไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็ซื้อได้หลายอย่าง เช่น ซื้อเวลาให้กลับบ้านได้เร็วขึ้น เพื่อทำงานให้ได้มากขึ้น หรือมีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้น กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เพื่อร่างกายที่แข็งแรง เพื่อให้เรามีพลังในการสร้าง “เงิน” ต่อไป เป็นต้น
เห็นไหมคะ วิธีง่ายๆ เหล่านี้ เป็นวิธีที่ทุกคนสามารถทำให้เกิดกับตัวเองได้ เมื่อเรามีเมล็ดพันธุ์ที่ดี ใส่ปุ๋ย รดน้ำ พรวนดิน ให้เกิดรากที่มั่นคง ผลผลิตของเราก็ย่อมมีประสิทธิภาพ และไม่ว่าจะเจอพายุรุนแรงขนาดไหน พืชพันธุ์ของเราก็จะยังคงแข็งแรงค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : คุณขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร นักจิตวิทยาพัฒนาสมอง
1. ทำใจให้เต็ม โดยไม่ต้องใช้เงินเติม
“คนเราจะทำอะไรก็ได้เพื่อให้ตัวเองมีความสุข” แต่ถ้าสิ่งที่ทำ ไม่สามารถถมใจให้เต็ม หรือไม่สามารถมีความสุขจากภายในได้ เราก็มักจะต้องใช้ “เงิน” เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสิ่งของหรือบริการ มาเติมเต็ม .. แต่เมื่อเงินหมด ความสุขก็พร่อง
ดังนั้น สิ่งแรกที่ควรทำคือ “ทำใจให้เต็มโดยไม่ต้องใช้เงินเติม” ทำตัวเองให้มีความสุขจากข้างใน ทำตัวเองให้มีความสุขเพราะตัวเราเองเป็นปัจจัย ไม่ต้องเอาไปแขวนไว้กับสิ่งของ หรือการตอบสนองของคนอื่น
นอกจากจะเป็นคนที่มีความสุขแล้ว เรายังไม่ต้องใช้จ่ายเงินมากมาย แถมยังช่วยให้เรามีเงินเก็บสำหรับการออม หรือเพื่อการลงทุนเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ
2. มีวินัยต่อตนเอง
การมีวินัยกับตัวเองในเรื่องอื่นๆ จะเสริมให้เรามีวินัยเรื่องการเงินเพิ่มขึ้น ถ้าเรารักษาสัญญาที่ให้ไว้กับตัวเองและคนอื่นได้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ เช่น ตื่นเช้าทุกวัน ไปตรงตามเวลานัด ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เราจะมีวินัยเรื่องการเงิน เพราะเราซื่อสัตย์ต่อตัวเอง
3. ตั้งเป้าหมาย
คนที่มีเงินเก็บเงินหลักล้านหรือคนที่มีธุรกิจร้อยล้านในช่วงที่อายุยังน้อย ส่วนใหญ่ทุกคนมี “เป้าหมาย” เพราะการตั้งเป้า จะทำให้เราสามารถเขียนแผนออกมาได้ ยิ่งเป้าชัด แผนก็ยิ่งละเอียด เมื่อแผนละเอียด เราก็สามารถทำตามแผนได้ง่าย สุดท้าย แม้ว่าเราจะไปไม่ถึงดวงจันทร์ แต่เราก็จะได้อยู่ท่ามกลางดวงดาวนะคะ
4. ไม่มี ไม่ยืม ไม่ผ่อน
เมื่อไม่มีเงิน ถ้าไม่มีความรู้เรื่องการเงิน ก็ไม่ควรยืม หรือผ่อนจ่าย โดยเฉพาะเพื่อซื้อหาในสิ่งที่ “ไม่จำเป็น” การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ เพราะนอกจากเราจะต้องคืนเงินต้นแล้ว ลองคำนวณดอกเบี้ยดู เผลอๆ อาจเกินยอดเงินที่เรายืมมาก็ได้นะคะ
ลองถามตัวเองดู ว่าที่อยากได้ เพราะจำเป็นต้องใช้ หรือเพราะอยากมีไว้อวดใคร
5. เริ่มออมตั้งแต่ยังมีเงินน้อย
การออมเงิน ไม่จำเป็นต้องรอให้มีเยอะก่อนแล้วค่อยออม เพราะคนที่จะดูแลอาณาจักรได้ดี ต้องดูแลบ้านของตัวเองให้ดีซะก่อน ส่วนคนที่จะดูแลบ้านได้ดี ก็ต้องดูแลห้องของตัวเองให้ดีก่อนเช่นกัน เริ่มจากน้อยๆ ฝึกวินัยของตัวเองไปเรื่อยๆ
ถ้าเริ่มออมเงินหลักสิบหลักร้อยไม่ได้ คิดเหรอคะ ว่าจะไม่เผลอแบ่งเงินหลักแสนหลักล้านไปเพิ่มความสุข (จากภายนอก) ให้ตัวเอง
6. โฟกัสกับการ “สร้างเงิน”
คนที่มีเงินมาก การออมนั้นสำคัญเพราะทำให้เขามีเงินก้อน แต่เงินที่เพิ่มทวีคูณส่วนใหญ่มาจากการลงทุน หรือการสร้างรายได้ที่เป็น Passive Income นำเงินมาปลูก ใส่ปุ๋ยพรวนดินให้ออกดอกออกผล ย่อมดีกว่าการนำเงินใส่ตุ่มแล้วขุดดินฝังไว้
7. ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด
แต่เวลา และสุขภาพ เป็นเรื่องที่ ถ้าใช้เงินจ่ายได้ ควรใช้เงินจ่ายค่ะ เงินอาจจะซื้อไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็ซื้อได้หลายอย่าง เช่น ซื้อเวลาให้กลับบ้านได้เร็วขึ้น เพื่อทำงานให้ได้มากขึ้น หรือมีเวลาให้ครอบครัวมากขึ้น กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เพื่อร่างกายที่แข็งแรง เพื่อให้เรามีพลังในการสร้าง “เงิน” ต่อไป เป็นต้น
เห็นไหมคะ วิธีง่ายๆ เหล่านี้ เป็นวิธีที่ทุกคนสามารถทำให้เกิดกับตัวเองได้ เมื่อเรามีเมล็ดพันธุ์ที่ดี ใส่ปุ๋ย รดน้ำ พรวนดิน ให้เกิดรากที่มั่นคง ผลผลิตของเราก็ย่อมมีประสิทธิภาพ และไม่ว่าจะเจอพายุรุนแรงขนาดไหน พืชพันธุ์ของเราก็จะยังคงแข็งแรงค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : คุณขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร นักจิตวิทยาพัฒนาสมอง