5 เมษายน นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประจำปี 2560 ใน 64 จังหวัด และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.)ระหว่างวันที่ 29มี.ค.-4 เม.ย.2560 โดยมีตำแหน่งว่างบรรจุได้ 6,437 อัตรา ใน 61 สาขา
ซึ่ง ปีนี้มี 36 สาขา รับสมัครเฉพาะผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู โดยมีอัตราบรรจุได้ 4,357 อัตรา และ อีก 25 สาขา รับสมัครผู้ที่มีและไม่มีใบอนุญาตฯ มีอัตราบรรจุได้ 2,080 อัตรา นั้น ปรากฏว่ามีผู้สมัคร ทั้งสิ้น 198,691 คน
- กลุ่มที่มีใบประกอบวิชาชีพครู หรือ ผ่านหลักสูตรครู 5 ปี จำนวน 116,909 คน
- กลุ่ม 25 สาขา รับสมัครผู้ที่มีและไม่มีใบอนุญาตฯ มีผู้สมัครสอบ ทั้งสิ้น 81,782 คน
ซึ่ง 5 จังหวัดที่มีผู้สมัครมาก ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา 14,656 คน กรุงเทพฯ 12,294 คน ชลบุรี 9,642 คน บุรีรัมย์ 8,466 คน และสุรินทร์ 7,798 คน
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับสาขาที่มีผู้สมัครมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับสาขาที่มีผู้สมัครมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่
- ปฐมวัย/อนุบาลศึกษา 22,227 คน
- ภาษาอังกฤษ 20,944 คน
- สังคมศึกษา 20,475 คน
- คอมพิวเตอร์ 17,053 คน
- คณิตศาสตร์ 16,676 คน
นอกจากนี้ยังพบว่า คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด(กศจ.) สุรินทร์ ได้เปิดกลุ่มวิชาภาษาเขมร 1 อัตรา แต่ไม่มีผู้มาสมัครสอบ เพราะไม่มีในหลักสูตร และไม่เคยมีการประกาศรับสมัครมาก่อน ดังนั้น กรณีนี้จะแก้ปัญหาโดยการจ้างครูอัตราจ้างชั่วคราวไปก่อน แต่จะนำไปเป็นข้อมูลในการประกาศสอบในครั้งต่อไป เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วซึ่งจะต้องเรียนรู้ภาษาอาเซียน ไม่ใช่เฉพาะภาษาเขมรอย่างเดียวแต่ต้องเรียนรู้ทุกภาษาในอาเซียนด้วย
"หลังจากประกาศผลการสอบคัดเลือกแล้ว สพฐ.ในฐานะผู้ใช้ครูจะรวบรวมข้อมูลผู้สมัครสอบใน 25 สาขาวิชา ว่าผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสอบได้จำนวนเท่าไหร่ และผู้ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสอบได้จำนวนเท่าไหร่ เพื่อนำมาประกอบเป็นข้อมูลในการวางแผนการรับคนที่จะเข้ามาเป็นครู ว่า การรับผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู กับ การเปิดกว้างรับผู้จบปริญญาตรีจากสาขาอื่นๆ สพฐ.จะได้รับประโยชน์อย่างไร"นายการุณ กล่าว
"หลังจากประกาศผลการสอบคัดเลือกแล้ว สพฐ.ในฐานะผู้ใช้ครูจะรวบรวมข้อมูลผู้สมัครสอบใน 25 สาขาวิชา ว่าผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสอบได้จำนวนเท่าไหร่ และผู้ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสอบได้จำนวนเท่าไหร่ เพื่อนำมาประกอบเป็นข้อมูลในการวางแผนการรับคนที่จะเข้ามาเป็นครู ว่า การรับผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู กับ การเปิดกว้างรับผู้จบปริญญาตรีจากสาขาอื่นๆ สพฐ.จะได้รับประโยชน์อย่างไร"นายการุณ กล่าว