แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บัตรคนจน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บัตรคนจน แสดงบทความทั้งหมด

เงินเข้าอีกเพียบ 6 สิทธิพิเศษ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในเดือนมีนาคม 2563

วันที่ 2 มีนาคม 63 ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน อย่าลืมเช็กตารางปฏิทันเดือนมีนาคม 2563 ด้วย เพื่อที่จะได้รู้ว่ารัฐบาลอุดหนุนค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอะไรกันบ้าง และยังคงใช้ได้อย่างต่อเนื่อง



วันที่ 1 มีนาคม 2563

1.เงินซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค ได้คนละ 200-300 บาทต่อเดือน
ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกคน

2.ค่ารถโดยสารสาธารณะ ได้คนละ 500 บาทต่อเดือน
ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทุกคน

วันที่15 มีนาคม 2563

1.เงินคืนภาษี5%

วันที่ 18 มีนาคม 2563
1.เงินช่วยเหลือ ค่าน้ำประปา ไม่เกินคนละ 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน

ผู้มีสิทธิ์ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์เรียบร้อย และครอบครัวมีการใช้น้ำประปาไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด

2.เงินช่วยเหลือ ค่าไฟฟ้าได้ ไม่เกินคนละ 230 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน
ผู้มีสิทธิ์ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์เรียบร้อย และครอบครัวมีการใช้ไฟฟ้าไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด

ส่วนผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินอุดหนุนค่าไฟฟ้า สามารถลงทะเบียนได้ผ่านทางเว็บไซต์ MEA สำหรับการชำระเงินค่าไฟฟ้ากับการไฟฟ้านครหลวงนั้น ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต้องจ่ายเงินเองไปก่อน จากนั้นกรมบัญชีกลางจะโอนเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐคืนในภายหลัง

ขอบคุณที่มา สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7

แจกบัตรคนจน เฟส 2 ใครเข้าร่วมโครงการแก้จนให้เพิ่มรายละ 100-200 บาท

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เฟส 2 แก่ผู้ที่ผ่านการตรวจสอบในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 ภายใต้งบประมาณ 35,679.09 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าใช้จ่าย 2,989.17 ล้านบาท งบประมาณเพื่อรองรับการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต ไม่เกิน 18,807.41 ล้านบาท และงบประมาณสำหรับซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อวัตถุดิบในร้านค้าประชารัฐวงเงิน 13,872.51 ล้านบาท



“มาตรการช่วยเหลือคนจนเฟส 2 เป็นมาตรการสมัครใจ หากใครแสดงความประสงค์ที่จะร่วมกับภาครัฐ ภายในเดือนมี.ค. 2561 จะมีการเพิ่มเงินช่วยเหลือในค่าครองชีพ ค่ารถโดยสาร ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ที่มีจัดสรรเงินไว้ วงเงิน 13,872 ล้านบาท แบ่งเป็น ผู้ที่มีรายได้ไม่เกินปีละ 3 หมื่นบาท ได้รับเงินเพิ่มคนละ 200 บาทต่อเดือน และที่มีรายได้สูงกว่าปีละ 3 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท ได้รับเงินเพิ่มคนละ 100 บาทต่อเดือน เชื่อว่า จะช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยมีรายได้พ้นเส้นความยากจนได้ประมาณ 4.7 ล้านคน มาตรการนี้จะเป็นการเริ่มให้ตกปลา ไม่ได้แจกปลา เพื่อความยั่งยืนของคุณภาพชีวิตคนไทย”

นายณัฐพร กล่าวว่า ทั้งนี้ การจะรับเงินเพิ่มดังกล่าวได้ ต้องมีเงื่อนไขให้ผู้ที่มีรายได้น้อยต้องลงทะเบียนเข้าร่วมการพัฒนารายบุคล ทั้งฝึกอาชีพและพัฒนาทักษะ ตามที่รัฐบาลกำหนด โดยผู้ที่เข้ารับการฝึกอาชีพจะได้รับเงินในเดือนถัดไปหลังจากที่ได้แสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการได้จนถึงเดือนธ.ค. 2561 เบื้องต้น คาดว่า เงินก้อนแรกจะลงไปถึงมือได้ประมาณเดือนมี.ค. 2561 นี้ และในการดำเนินการดังกล่าว หากผู้ที่เข้าร่วมฝึกอบรมผิดเงื่อนไขไม่ทำตามที่กำหนดไว้ รัฐจะหักเงินเพิ่มในเดือนถัดไปออกทันที

อย่างไรก็ตาม นอกจากการจัดสรรวงเงินเพิ่มให้ผู้มีรายได้น้อยแล้ว ยังมีโครงการต่างของหน่วยงานภาครัฐที่จะเข้าไปพัฒนาผู้มีรายได้น้อย รวมกันถึง 34 โครงการ ทั้งการส่งเสริมให้มีงานทำ 5 โครงการ การฝึกอบรมและการศึกษา 10 โครงการ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ 11 โครงการ และการเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน 8 โครงการ โดยในจำนวนนี้มีโครงการที่ขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณจากภาครัฐ 6 โครงการ วงเงินรวม 18,807 ล้านบาท ทั้งโครงการเพิ่มทักษะอาชีพเกษตรกร 110 หลักสูตร การจ้างแรงงานภาคเกษตรก่อสร้างและบำรุงรักษางานชลประทาน ของกระทรวงเกษตรฯ ฝึกอาชีพเร่งด่วนช่างเอนกประสงค์ จัดหลักสูตรฝึกอาชีพเสริม 3 หลักสูตร และค้นหาตำแหน่งงานว่างผ่านตู้งาน ของกระทรวงแรงงาน

ขณะเดียวกันยังมีโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายและค่าลงทุนในการรวมกลุ่มการผลิตและบริหารจัดการร่วมกันของวิสาหกิจชุมชน วงเงินกลุ่มละไม่เกิน 10 ล้านบาท และยังมีโครงการปรับโครงสร้างหนี้ โดยจะพักชำระเงินต้นให้ 2 ปี รวมทั้งโครงการสนับสนุนสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ระยะที่ 2 วงเงินสินเชื่อรวม 1 หมื่นล้านบาท กู้ได้รายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท

นอกจากนี้ ยังมีโครงการของธนาคารออมสิน และธ.ก.ส. ที่ขอเป็นโครงการธุรกรรมนโยบายรัฐ อีก 18 โครงการ เช่น การปล่อยสินเชื่อ เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการมหาวิทยาลัยประชาชน คลินิกสุขภาพเคลื่อนที่ของธนาคารออมสิน ส่วนธ.ก.ส.มีทั้งการให้ความรู้เกษตรกร สินเชื่อชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตเพื่อพัมนาอาชีพคนมีรายได้น้อย และการปรับปรุงโครงกสร้างหนี้ ขณะเดียวกันยังมีมาตรการภาษีของกรมสรรพากร ที่จะให้นายจ้างฝึกทักษะฝีเมือให้ลูกจ้างที่ถือบัตรสวัสดิการ สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนได้ 1.5 เท่าได้ ในรอบบัญชีตั้งแต่ 1 ม.ค. 2561-31 ธ.ค. 2562

นายณัฐพร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (คนส.) และคณะอนุกรรมการติดตาม (คอต.) และคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับจังหวัด (คอจ.) และตั้งคณะทำงานพัฒนาคุณภาพชีวิตประจำอำเภอ (ทีมปรจ.) ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการทำงาน และยังมีผู้ดูแลผู้มีสวัสดิการแห่งรัฐ ที่เป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารออมสิน และธ.ก.ส. จำนวนประมาณ 4 หมื่นคน เข้าไปตรวจสอบ และสัมภาษณ์เป็นรายคน เพื่อให้ได้ข้อมูลสภาพปัญหาทั้งหมด และจากนั้นจึงสรุปผลการทำมาตรการทั้งหมดในเดือนธ.ค. 2561 เพื่อดู้ว่า จะทำมาตรการต่อเนื่องในระยะที่ 3 อย่างไร

ส่วนในปี 2561 นี้ รัฐบาลจะยังไม่มีการเปิดให้ลงทะเบียนเพิ่มเติม เพราะต้องการดูผลสำเร็จของการแก้ปัญหาคนมีรายได้น้อนยที่มาลงทะเบียนกว่า 11.4 ล้านคนก่อน

นายพรชัย ฐีระเวช รองโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังคาดว่า การดำเนินมาตรการดังกล่าว หากทำได้สำเร็จจะช่วยผลักดันให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ขยายตัวได้ประมาณ 0.06%

ที่มา ข่าวสด