แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อาชัพเสริม แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ อาชัพเสริม แสดงบทความทั้งหมด

หนาวนี้ยังไม่รู้จะทำอะไรดี แนะนำให้ปลูกดอกขจรขาย ราคาดีมากราคาโลล่ะเกือบ 100



หนาวนี้ยังไม่รู้จะทำอะไรดี แนะนำให้ปลูกดอกขจรขาย เพราะช่วงหนาวราคาพุ่ง 120-130 บาท
ซึ่งดอกขจร หรือที่ชาวย้านเรียกกันว่าดอกสลิดนั้น เป็นผักพื้นบ้าน นิยมนำมาต้ม รวกกินกับน้ำพริก
แกงส้ม แกงจืด ผัดน้ำมันหอย และอีกหลายๆอย่าง ซึ่งดอกขจรมีขายอยู่ทั่วๆไป ทั้งตามห้าง
ตามตลาดนัด หากใครสนใจจะทำเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม

ราคาขายดอกขจร
ถ้าเป็นช่วงปกติ กก.ละ 30-40 บาท
ช่วงหนาวราคาจะพุ่ง 120-130 บาท

สวนที่จะข้อมูลมาให้ดูตัวอย่างคือสวน
คุณไพศาล-คุณสุนัน สุตะเขตร์ 20 ม.3 ต.คลองจินดา อ.สามพราน จ.นครปฐม โทร.081-880-6697



คุณไพศาล และคุณสุนัน สุตะเขตร์ ยึดอาชีพปลูกดอกขจร/ดอกสลิดมานานเกือบ 10 ปีแล้ว
โดยดอกขจรที่ปลูกนั้นมีทั้งหมด 5 ร่อง ๆ หนึ่งมีประมาณ 30 ต้น ขจรเป็นไม้เลื้อยการปลูกจึงต้องทำค้างเพื่อให้ยอดขจรขึ้นไปเลื้อยบนค้าง และต้องคอยจับยอดให้เลื่อยขึ้นค้างและห้อยลงมาด้านล่างไม่ให้กิ่งทับกันมาก เพราะนอกจากจะทำให้ขจรออกดอกดก กิ่งก้านโปร่ง เป็นระเบียบแล้วยังจะทำให้เดินเก็บดอกได้สะดวกอีกด้วย

คุณไพศาลบอกว่าดอกขจรจะดกหรือไม่ดกนั้นขึ้นอยู่กับการแต่งกิ่ง ซึ่งส่วนมากจะแต่งกิ่งกัน
ในช่วงหน้าหนาว เพราะช่วงนี้ดอกขจรมักจะออกดอกน้อยและดอกที่ออกมาก็มักจะฝ่อ ช่วงนี้จึงนิยมแต่งกิ่งกันเพื่อให้แตกยอดใหม่ที่จะสมบูรณ์มากขึ้นและให้ดอกดกเหมือนเดิม โดยการตัดแต่งจะทำกันในช่วงเดือนตุลาคม การตัดแต่งกิ่งช่วงนี้จะตัดอย่างหนัก เอาไว้เฉพาะส่วนของลำต้นที่ตั้งตรงขึ้นไป ส่วนกิ่งแขนงเลื้อยไปตามค้างจะตัดออกหมด แต่ก็จะไม่ทำทั้งแปลงพร้อมกัน แบ่งล็อคทำเพื่อให้มีต้นที่เก็บดอกได้ด้วย เพระช่วงหนาวนี้ก็ถือเป็นโอกาสทองของชาวสวนด้วยเช่นกัน เพราะราคาดอกขจรช่วงนั้นจะสูงขึ้นเป็นเท่าตัวประมาณ 120-130 บาท หลังจากแต่งต้นไปแล้วประมาณ 2-3 อาทิตย์มันจะแตกยอด
ออกมาใหม่ก็จะเริ่มดอกตามมาเรื่อยๆประมาณเดือนกว่า เริ่มทยอยเก็บไปเรื่อยๆ พอแตกยอดออกมาประมาณ 7-8 ข้อจะมีดอก มันจะเริ่มทยอยเก็บไปทีละข้อๆ



นอกจากนี้จะมีการตัดแต่งกิ่งที่แก่ออกอยู่ตลอดเพื่อให้แตกยอดใหม่ออกมา ขจรจะมียอดใหม่แตกออกมาเรื่อยๆ พอเด็ดยอดก็จะยิ่งแตกยอดใหม่ตามข้อออกมาเรื่อยๆ ยอดหนึ่งจะยาวมาประมาณ 7-8 ข้อ มีดอกทุกข้อ ยิ่งตัดก็จะยิ่งแตกการให้ปุ๋ยนั้นคุณไพศาลบอกว่าจะให้ปุ๋ยอาทิตย์เว้นอาทิตย์ โดยใช้ปุ๋ยสูตรเสมอเป็นหลัก ถ้าแต่งต้น แต่งกิ่งแก่ออกอยู่ตลอด แล้วใส่ปุ๋ยก็จะมีดอกออกมาตลอด ดอกจรไม่ค่อยมีศัตรูรบกวนแต่ก็อาจจะมีบ้างบางช่วงที่มีหนอน แมลงหวี่ขาวเข้ามากัดกินยอดก็อาจจะต้องฉีดพ่นสารเคมีบ้างแต่ก็ถือว่าน้อยมากและใช้ยาอ่อนๆก็เอาอยู่แล้ว ดอกขจรดีตรงที่อายุต้นยืนยาว สามารถอยู่ได้นานเป็น 10 ปี อายุของต้นถ้าจะอยู่ให้ได้นานก็ควรที่จะทำสาวใหม่บ่อยๆ การทำสาวนั้นขึ้นอยู่กับว่าความหนาแน่นของเถา อาจจะใช้เครื่องตัดแต่งกิ่งเป็นบางส่วนก็ได้แล้วแต่ หรือว่าจะตัดแต่งอย่างหนัก โดยตัดกิ่งแขนงออกให้หมดเหลือไว้แต่ส่วนของลำต้น ประมาณ 2 อาทิตย์ก็จะแตกยอดแตกดอกออกมาแล้ว เลี้ยงยอดไปสักเดือนหนึ่งก็เก็บได้แล้ว การตัดแต่งกิ่งอย่างหนักหรือทำสาวไม่ต้องทำพร้อมกันทั้งแปลงก็ได้ อาจจะแบ่งทำสาวเป็นร่องๆไปก็ได้ ซึ่งการทำสาวนี้นอกจากจะทำให้อายุของต้นยืนแล้ว ยังช่วยทำให้บรรยากาศในแปลง ดูโปร่งสะอาด ไม่ทึบอีกด้วย คุณไพศาลบอกว่า จะเก็บดอกขจรขายกันทุกวันๆ ละ 30-40 กก. ดอกหลังจากที่เก็บมาแล้วจะต้องนำมาคัดแยกดอกตูมและดอกบานซึ่งจะขายได้ราคาต่างกัน ดอกตูมนั้นจะได้ราคาที่ดีกว่า 40-50 บาท ดอกบานอยู่ที่ราคา 20 บาท จากนั้นก็บรรจุใส่ถุงๆ ละ 1 กก. ส่วนราคาในช่วงฤดูหนาวที่ไม่ค่อยมีดอกนั้น ราคาจะค่อนข้างสูงอยู่ที่ 120-130 บาท
คุณไพศาลบอกว่า วันหนึ่งที่บ้านจะมีรายได้หมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 1,500-2,000 บาทเลยทีเดียว สร้างรายได้หมุนเวียนในครอบครัวเป็นอย่างดี





ทีมา @ http://www.vigotech.co.th/index.php 

พลิกวิกฤติแล้ง เลี้ยงปลาในโอ่ง สร้างรายได้เสริม

ชาวนา จ.อ่างทอง หันเลี้ยงปลาในโอ่งแดงสร้างรายได้ หลังประสบภัยแล้ง ไม่สามารถทำนาได้ โดยน้ำที่เปลี่ยนจากการเลี้ยงปลา นำไปใช้รดน้ำต้นไม้ เป็นการใช้ประโยชน์จากน้ำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น..


.

เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 59 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก จ.อ่างทอง ประสบภัยแล้งขาดแคลนน้ำ หยุดการทำนาหลังน้ำต้นทุนเหลือน้อยใช้ได้เพียงอุปโภคบริโภค ชาวนาหันไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว และพบว่ามีชาวบ้านหมู่ที่ 7 ตำบลบ้านพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง พลิกวิกฤติเป็นโอกาส ได้นำโอ่งแดงที่กักเก็บน้ำกินน้ำใช้ นำมาเลี้ยงปลาไว้เป็นอาหารและสร้างรายได้ หลังหน่วยงานของรัฐบาลได้แจกพันธุ์ปลามาให้ประชาชนสู้ภัยแล้ง จึงได้นำไปเลี้ยงในโอ่งแดง ซึ่งแหล่งน้ำคูคลองได้แห้งขอด ซึ่งโอ่งแดงเป็นแหล่งเลี้ยงปลาอย่างดี แถมเป็นการเลี้ยงปลาแบบใช้น้ำน้อย เป็นการประหยัดน้ำ สามารถสร้างรายได้เสริมอีกด้วย

ด้าน นางผาสุก ปานเมฆ อายุ 45 ปี ชาว ต.บ้านพราน อ.แสวงหา จ.อ่างทอง หนึ่งในเกษตรกรชาวนาหลังได้หยุดทำนา หันมาเลี้ยงปลาในโอ่งแดง ได้กล่าวว่า เนื่องจากช่วงนี้ได้ประสบภัยแล้งและไม่สามารถทำนาได้ จึงนำปลาดุกมาเลี้ยงในโอ่งแดงที่บ้านเพื่อนำไว้เป็นอาหาร รับประทานในครอบครัว หากเหลือกินก็นำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทาง การที่เลี้ยงปลาดุกในโอ่งแดง น้ำที่ใช้เลี้ยงปลายังสามารถนำไปใช้รดน้ำต้นไม้ได้อีก แถมเป็นประโยชน์ต่อต้นไม้ เนื่องจาก ในน้ำมีทั้งขี้ปลาและอาหาร เป็นปุ๋ยต้นไม้ ส่วนน้ำที่ใช้ 3-4 วันเปลี่ยนครั้ง ปริมาณน้ำใช้แค่พอท่วมตัวปลาหรือประมาณ 30 ซม. และจำนวนปลาที่เลี้ยงในโอ่งประมาณ 200 ตัว หรือแค่ดูความเหมาะสม หากแน่นไปปลาจะไม่โต ระยะเวลาการเลี้ยงที่สามารถนำไปขายกินได้อีก อยู่ที่ประมาณ 3-4 เดือน ตอนนี้ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 50 บาท เป็นการสร้างรายได้เสริมสู้ภัยแล้ง

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/602377



ปลูกกล้วยหอมขาย มีกำไรไม่มีจน

กล้วยหอมทองเป็นพืชที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในจังหวัดชุมพรได้เป็นจำนวนมาก วันนี้ทีมงานรักบ้านเกิด จะมาแนะนำการจัดการสวนกล้วยหอมทองให้มีผลผลิตดีมีคุณภาพจากสวนของลุงตั้น เกสโร เกษตรกรแห่งพื้นที่ตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร


ประสบการณ์การปลูกกล้วยหอมทองมากว่า 15 ปี เริ่มต้นตั้งแต่กล้วยเริ่มตั้งท้องช่วง5-6 เดือน ก็เริ่มถอนหญ้ารอบโคนต้น ตัดหน่อไม่สมบูรณ์ออกเหลือไว้แต่หน่อที่สมบูรณ์ จากนั้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 0.5 กก./ต้น ปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ด 1 กก./ต้น หลังจากนั้นเมื่อกล้วยเริ่มออกปลีให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 14-14-21 เพื่อบำรุงต้น ปริมาณ 0.5 กก./ต้น หว่านรอบโคนแล้วเอาหญ้ากลบ จากนั้นก็จัดการตัดแต่งเอาทางเสียออกให้เหลือต้นละ 4-5 ทาง การตัดแต่งทางจะช่วยให้ต้นสมบูรณ์ หนอนแมลงต่างๆไม่มารบกวน เมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วง8-10 เดือน ก็ตัดผลผลิตและตัดต้นเดิมออกแล้วมาเริ่มจัดการดูแลต้นใหม่ วนเวียนแบบนี้ตลอดก็จะทำให้เกษตรกรมีรายได้หมุนเวียนทั้งปี