แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ทักษะที่ควรมี แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ทักษะที่ควรมี แสดงบทความทั้งหมด

8 ข้อหลัก เขียน "เรซูเม่" ยังไงให้ได้งาน

8 ประเด็นเรซูเม่เด็ดชนะใจHR



องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของการสมัครงานคือ ประวัติการทำงาน หรือ เรซูเม่ (resume) อันเป็นตัวแทนของผู้สมัคร ด่านแรก ที่จะนำเสนอตัวเองให้กับสถานประกอบการ พิจารณาเลือกเข้าสัมภาษณ์ก่อนเจอตัวจริงของผู้สมัครงาน ประวัติย่อของผู้สมัครงาน หรือ เรซูเม่นั้น ต้องเรียบเรียงเป็นขั้นตอนตามลำดับความสำคัญที่ต้องการนำเสนอ เข้าใจง่าย กระชับ ครอบคลุม เพราะHRใช้เวลาโดยเฉลี่ยเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้นในการมองหาความน่าสนใจจากเรซูเม่ของผู้สมัครงาน

วิธีที่คุณจะเรียกความสนใจจาก HR ได้ก็คือ ทำให้เรซูเม่ของคุณเป็นเรซูเม่ที่ดีในสายตานายจ้าง แมนพาวเวอร์กรุ๊ปขอแนะ 8 หัวข้อเรซูเม่ที่ดีควรมีดัวต่อไปนี้

1. ประวัติพื้นฐานข้อมูลส่วนตัว (Personal Information) 
ชื่อ-นามสกุล,วันเดือนปีเกิด,อายุ,ส่วนสูง,น้ำหนัก,ที่อยู่,เบอร์โทร หรืออีเมล์,เงินเดือนปัจจุบัน,เงินเดือนที่ต้องการ,วันสามารถเริ่มงานได้

2. ประวัติการศึกษา (Educational Background) 
ประกอบด้วย ปีการศึกษา,ชื่อสถาบัน,วุฒิการศึกษา,วิชาเอก,เกรดเฉลี่ยรวม โดยเริ่มเขียนจากประวัติการศึกษาล่าสุด ไล่ลงไปเรื่อยๆ จนถึงระดับมัธยม หรือประถมศึกษา

3. จุดประสงค์ในสายอาชีพ (Career Objective) 
ผู้สมัครต้องทราบว่าตำแหน่งที่จะสมัครคืออะไร บริษัทฯ ที่เราสมัครงานผลิตอะไร เขียนในเชิงที่จะสามารถนำประสบการณ์ การศึกษาความรู้มาใช้พัฒนาองค์กร และพร้อมที่จะเติบโตไปกับองค์กร ซึ่งก็คือเขียนเอาใจสถานประกอบการณ์ให้ได้รับการคัดเลือกประวัติการทำงานของเรา

4. ประวัติการอบรมและทักษะพิเศษ (Training & Extra Skills) 
ส่วนนี้เป็นส่วนเสริมให้สถานประกอบการทราบว่า นอกจากประวัติการทำงานที่ผ่านมาแล้ว ผู้สมัครมีประวัติการอบรม หรือทักษะพิเศษอะไรบ้างที่จะนำมาช่วยเสริมการทำงานให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น ซึ่งเป็นการแสดงให้สถานประกอบการได้เห็นว่าผู้สมัครงานมีความใฝ่รู้ ต้องการพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองมากน้อยแค่ไหน

5. รูปถ่าย (Photo) 
ควรเป็นรูปปัจจุบัน และเป็นความจริง เพราะเป็นการแสดงความเป็นมืออาชีพ ในด่านแรกของการสมัคร รูปควรอยู่ในสภาพเรียบร้อย หน้าตรง ขนาดพอดี พื้นสีหลัง ที่เหมาะสม แสดงให้เห็นความตั้งใจในการสมัครงาน อย่าใช้รูปรับปริญญา หรือใส่ชุดนักศึกษา (ถ้าไม่ใช่ผู้สมัครจบใหม่) เนื่องจากทำให้มองเห็นว่าคุณไม่ใส่ใจในรายละเอียด เล็กๆ น้อยๆ ทำงานมานานแล้ว รูปสมัครงานยังใช้รูปรับปริญญา หรือรูปเก่า สะท้อนให้เห็นตัวตนของผู้สมัครได้ในหลายแง่มุม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นด้านลบ

6. สรุปประสบการณ์ที่โดดเด่น (Executive Summary หรือExperience Summary) 
ในส่วนนี้สำคัญมาก ผู้สมัครควรสรุปความสามารถ ประสบการณ์เด่น ให้ตรงกับตำแหน่งงานที่สมัคร ความสามารถพิเศษ ทักษะทางภาษาที่สอง หรือ ทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ ก็สามารถนำมาใส่ในส่วนนี้ ซึ่งทุกอย่างต้องเป็นความจริง เพราะผู้สมัครบางท่านใส่ข้อมูลไม่ถูกต้อง เกินความจริง ก็จะทำให้เกิดการเสียเวลา ผิดหวังเมื่อถูกเรียกสัมภาษณ์แล้วไม่เป็นความจริง หรือตรงกับข้อมูลที่เขียนไป ทำไมส่วนนี้ถึงสำคัญมาก เพราะผู้คัดเลือกประวัติ หรือแม้แต่ผู้สัมภาษณ์ จะได้ประหยัดเวลา ในการที่จะอ่านทุกตัวอักษร หรืออ่านข้อมูลทั้งหมด เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการพิจารณาประวัติการทำงาน ที่ส่งเข้าในปริมาณมากมักจะอ่านหรือพิจารณาจากส่วนนี้

7. ประวัติการทำงาน (Career Experience หรือ Work History) 
ส่วนนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่สามารถดึงดูดผู้คัดใบสมัคร หลายท่านเขียนแบบสั้นมาก ใส่เพียง ปีการทำงาน สถานประกอบการ ตำแหน่งงาน เท่านั้น ซึ่งรายละเอียดไม่เพียงพอในการพิจารณา ขอแนะนำว่าให้ใส่โดยละเอียดดังนี้ ระยะเวลาการทำงาน (Period), ชื่อสถานประกอบการ (Company), ที่อยู่ของสถานประกอบการ (Location), ประเภทธุรกิจ (Business), ตำแหน่งงาน (Position), ความรับผิดชอบ (Responsibilities) ตรงนี้ควรใส่ให้ละเอียดที่สุด สามารถคัดลอกมาจากรายละเอียดงาน (Job Description) ที่ได้รับจากฝ่ายสรรพยากรมนุษย์ ตอนที่มาร่วมทำงาน หรืออาศัยข้อมูลจากประกาศรับสมัครงานที่เคยสมัครเข้ามาทำงาน ถ้าไม่มีจริงๆ ก็ต้องเขียนขึ้นมาเองตามความเป็นจริง พยายามแยกออกมาเป็นข้อๆ โดยมีหมายเลข หรือจุดนำหัวข้อ หรือประโยค ไม่ควรเขียนรวมกันเป็นย่อหน้ายาวๆ

8. บุคคลอ้างอิง (Reference) 
ในส่วนนี้จะใส่ไปด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้าใส่ไปต้องเป็นบุคคลที่สามารถพูดถึง หรืออ้างอิงถึงประวัติการทำงานที่ผ่านมาของผู้สมัครได้ และควรพูดออกมาในแง่บวก รวมทั้งควรเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ที่ดีในการทำงานกับผู้สมัครงาน ที่ได้รับการแจ้งและขออนุญาตในการนำมาเป็นบุคคลอ้างอิงแล้ว ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ใส่คำว่า –บุคคลอ้างอิงสามารถนำเสนอให้ได้เมื่อมีการร้องขอ (References up on requested) ทั้งนี้เพื่อป้องกันสถานประกอบการ ที่คัดเลือกประวัติของผู้สมัคร ใช้วิธีการอื่นติดต่อไปสอบถามข้อมูล ก่อนการเรียกมาสัมภาษณ์ โดยที่ผู้สมัครงานและบุคคลอ้างอิงยังไม่ได้รับทราบ และเตรียมความพร้อมกัน อันอาจจะเป็นข้อลบของการให้รายละเอียดบุคคลอ้างอิงไว้ในประวัติการทำงาน

ทั้งหมดนี้คือพื้นฐานข้อมูลในการเขียนเรซูเม่ให้ครบถ้วน และถูกต้อง โดยข้อมูลที่เขียนลงไปนั้น ต้องเป็นความจริง กระชับ เข้าใจง่าย โดยผู้สมัครจะต้องจับใจความสำคัญของตัวเอง ชูจุดเด่นของเราให้ตรงกับสายงานและตำแหน่งมากที่สุด และต้องศึกษาข้อมูลตำแหน่งงานที่เราสมัครด้วยว่าตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ หากขอมูลครบถ้วนแล้วรูปแบบของเรซูเม่ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ การออกแบบที่ตรงกับสายงาน ความเรียบ ความสายงาน การออกแบบที่มากเกินไปและน้อยเกินไปก็เป็นสิ่งที่ไม่ดี หัวใจหลักในการที่จำทำให้เราถูกคัดเลือกคือการไม่ยอมแพ้ มุ่งมันตั้งใจ และอย่าลืมหมั่นเพิ่มศักยภาพของตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพราะนั้นจะทำให้ตัวคุณเองโดดเด่นในสายตาคนอื่นอย่างแน่นอน

ขอขอบคุณเนื้อหา เวปไซต์บ้านเมือง

6 วิธีเพิ่มทักษะการสื่อสารในการทำงาน

ไปเจอวิธีเพิ่มทัักษะในการทำงานที่อ่านแล้วได้ความรู้มากๆ เป็นบทความจากเวปไซต์ jobsDB เห็ว่ามีประโยช์เลยขอเอามาเก็บไว้ใน Blog หางานพิดโลกครับ เพื่อนๆลองอ่านสิ มันช่วยได้อยากมากเลยครับผม



ทักษะการสื่อสารใครคิดว่าไม่สำคัญ จากการสำรวจผู้ประกอบการมองหาอะไรจากเด็กจบใหม่ ที่ทาง jobsDB ได้จัดทำขึ้น ได้ระบุเอาไว้ว่า ทักษะที่นายจ้างพิจารณารับเด็กจบใหม่เข้าทำงานนั้น สิ่งที่นายจ้างคำนึงถึงเป็นอันดับแรกได้แก่ “ทักษะการสื่อสารที่ดี” มากถึง 62% ในการทำงานการสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เนื่องจากการทำงานต้องมีการติดต่อ ประสานงานกัน ถ้าสื่อสารกันไม่รู้เรื่องหรือไม่เข้าใจ ก็อาจทำให้การทำงานเกิดการสะดุดได้ ซึ่งบางคนโชคดีมีทักษะเฉพาะตัวด้านนี้มาแต่เกิด จะพูดอย่างไรก็มีคนฟัง แต่ถ้าใครยังไม่มั่นใจว่าตัวเองสื่อสารได้ดีแล้วหรือยัง jobsDB แนะนำให้ลองปฏิบัติตาม 5 ข้อนี้ดูค่ะ

1. จะพูดให้ดี ต้องฟังให้เป็น และจะเขียนให้รู้เรื่อง ต้องหมั่นอ่านด้วย

ทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ต้องสัมพันธ์กัน การจะพูดดีได้ ต้องเกิดการฟังอย่างเข้าใจ หากฟังไม่รู้เรื่อง จับประเด็นของเนื้อหาสาระไม่ได้ ก็จะเกิดความเข้าใจผิด การอ่านกับการเขียน ก็เสมือนเป็นเรื่องเดียวกัน การอ่านหนังสือให้แตก ไม่ได้เกิดจากแค่คุณอ่านหนังสืออก เมื่ออ่านเยอะมากพอ จะทำให้คุณเกิดทักษะการเขียนได้ดีด้วย เพราะคุณจะจับประเด็นได้ถูก การเขียนมีเวลาได้คิดมากกว่าการพูด ดังนั้นคุณสามารถใช้เวลาทบทวนในเรื่องของไอเดีย การใช้คำ และตัวสะกดได้ และก็อีกเช่นกัน การเขียนออกไป แปลว่ามีลายลักษณ์อักษรเป็นที่ปรากฏ เป็นหลักฐานที่เป็นรูปธรรมมากกว่าการพูด ดังนั้นกรุณาระมัดระวังเป็นพิเศษด้วย

2. สมาธิต้องมี

จะพูด จะฟัง จะเขียน จะอ่านอะไร ต้องมีสมาธิ ถ้าจิตใจหลุดลอยไปคิดอย่างอื่น จะสื่อสารให้รู้เรื่องได้อย่างไร ในเมื่อสติไม่ได้พกมาด้วย เคยฟังการประชุมยาวๆ แล้วจิตหลุดบ้างมั้ย แล้วเมื่อโดนจี้ให้แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่คุณไม่ได้ฟัง คุณจะตอบอย่างไร ในเมื่อไม่ได้ฟัง บางครั้งการที่เราพลาดการฟัง หรืออ่านอะไรไปโดยไร้ความละเอียด อาจทำให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงได้อย่างไม่น่าเชื่อ เช่น ชำระเงินไปโดยไม่ได้อ่านสัญญาที่แนบมาโดยละเอียด เป็นต้น

3. การเลือกใช้คำ

การเลือกใช้คำเป็นอะไรที่ต้องระมัดระวังสุดๆ ข้อความเดียวกัน แต่ใช้คำไม่เหมือนกัน หรือเลือกมุมในการสื่อสารผิดพลาดก็อาจทำให้เข้าใจผิดได้อย่างใหญ่หลวง การเลือกใช้คำ ต้องพิจารณาถึงแบกกราวน์และวัฒนธรรมของผู้รับสารด้วย ควรรู้สักนิดว่าผู้รับวารของเรามีปมเด่น ด้อยในเรื่องใด หรือมาจากประเทศชาติบ้านเมืองที่ซีเรียสเร่องลำดับขั้น หรือความอาวุโสมากน้อยแค่ไหน การจะสื่อสารให้มัดใจคนหมู่มาก ต้องมีจิตวิทยาที่ดี หลีกเลี่ยงการใส่อารมณ์ที่ไม่เหมาะสมในขณะทำการสื่อสาร “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” จำไว้

4. อวัจนะภาษานั้นสำคัญยิ่งเหนือสิ่งใด

อวัจนะภาษาหมายถึงการสื่อสารที่แสดงออกโดยไม่ผ่านคำพูด หรือตัวอักษร เช่น การแสดงสีหน้าท่าทาง การเดิน ยืนนั่ง การสบตา เหล่านี้มีความหมายทั้งสิ้น ในบางครั้งคนที่เราคุยด้วยอาจพูดว่า “ใช่” แต่น้ำเสียง และแววตานั้นบอกว่า “ไม่ใช่” ก็ต้องตีความดูให้แน่ใจว่าหมายความอย่างไรกันแน่ โดยส่วนใหญ่แล้ว อวัจนะภาษาจะถ่ายทอดความเป็นจริงของจิตใจมากกว่าการพูด หรือตัวอักษร เพราะเป็นการสื่อสารสิ่งที่ออกมาจากใจ โดยที่ผู้ส่งสารอาจไม่ทันได้ระวังตัว ยกเว้นแต่เพียงบางคนที่เทพมากจริง ๆ ที่สามารถซ่อนอวัจนะภาษาของตัวเองไว้ลึกสุดใจได้

5. จับประเด็นและสรุปความให้เป็น

คำว่าจับประเด็น ถูกเขียนถึงไปหลายครั้งมาก ในข้อข้างต้น มากจนคิดว่า ควรตั้งแยกออกมาเป็นอีกหัวข้อเพื่อแนะนำเรื่องนี้โดยเฉพาะเลยจะดีกว่า ในทุกเรื่องที่มีคนพยายามจะทำการสื่อสารกับเรา ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องสั้นหรือยาว จะมี Key topics อยู่เสมอ บางครั้งอาจมีเพียง ประเด็นเดียว แต่บ่อยครั้งที่มีมากกว่านั้น ถ้าเป็นเรื่องที่ยาวๆ มาก ๆ และสำคัญ ควรจดไล่เรียงกันลงมาเป็นลำดับ และเมื่อเราสลับบทเป็นผู้ส่งสารบ้าง ก็ควรพูดให้มีประเด็นด้วยเช่นกัน ถ้าเรื่องยาวมาก ก็ควรสรุปประเด็นสำคัญในตอนท้ายอีกทีด้วย

6. วิเคราะห์ผู้รับสาร และผู้ส่งสาร

การจะสื่อสารให้ดี ต้อง tailor made แปลว่า ต้องเลือกสารที่จะสื่อให้ถูกใจคนฟัง ดังนั้นต้องวิเคราะห์ว่าเรากำลังจะไปคุยกับใคร หรือพูดให้ใครฟัง เช่น วันนี้ต้องไปบรรยายให้นักศึกษามหาวิทยาลัยฟัง ก็ต้องใช้ภาษาวัยรุ่น อย่าทางการ หรือถ้าเรารู้ว่าเพื่อนร่วมงานบางคนไม่ชอบได้ยินคำวิจารณ์แรงๆ ถ้าเรามีอะไรจะสื่อกับเขาก็ต้องพูดอ้อมๆ ถนอมน้ำใจกันไป อะไรแบบนั้น

ทั้งหมดทั้งมวล เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากๆ สามารถฝึกได้ตั้งแต่เริ่มพูดเป็นเลยด้วยซ้ำ หากรู้ว่ามีข้อไหนเรายังสกิลต่ำ ก็อย่ารอช้า ปรับปรุงตัวเอง แล้วจะเป็นที่ต้องการของตลาด ค่าตัวแพงได้แบบคาดไม่ถึง

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก 
https://th.jobsdb.com/th-th/articles/ทักษะสื่อสารในการทำงาน

10 ทักษะที่มีแล้วได้งานแน่นอน

ช่วงนี้หลายคนคงวิ่งวุ่นกับการหางาน สมัครไปหลายที่ พอเรียกสัมภาษณ์ดัดไม่ได้งาน ซะงั้น เราก็วุฒิดี เกรดเฉลี่ยนิยม ทำไมถึงไม่ได้งานสักที ลองดูสิว่าเราขาดทักษะพวกนี้ไปหรือเปล่า ถ้าเรามีครบได้งานชัวร์เลยนะครับ 


1. ทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
งานหลาย ๆ อย่าง ที่เราต้องทำกันอยู่ทุกวัน แม้บางงานจะเรียกว่าเป็นงานรูทีน แต่ในรายละเอียดนั้น เรามักจะต้องเจอกับปัญหานานาชนิดไม่เว้นแต่ละวัน ไหนจะปัญหากับเพื่อร่วมงาน ปัญหากับลูกค้า ดังนั้น เราควรจะฝึกฝนทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ใช่ว่าเจอเรื่องเล็กเรื่องน้อย ก็ฟ้องผู้จัดการ หรือปัดปัญหาไปให้คนอื่นเสียหมด 
2. ทักษะการดูแลแก้ไขอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงานที่เราใช้อยู่เป็นประจำ
คงปฏิเสธไม่ได้ ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศแบบนี้ อุปกรณ์ไฮเทค เข้ามาอยู่ในสำนักงานกันเต็มไปหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ ดังนั้น เราควรจะมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาง่าย ที่อาจเกิดขึ้นบ่อย ๆ ระหว่างที่เราใช้อุปกรณ์สำนักงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์แฮงค์ การลงโปรแกรม หรือแม้กระทั่งเครื่องถ่ายเอกสาร ที่ใช้เป็นประจำ กระดาษหมด กระดาษติด สามารถจัดการได้ โทรศัพท์มือถือที่ใช้งานอยู่ เกิดปัญหาเครือข่าย หรือฟังก์ชั่นการทำงานบางอย่างรวนไป ควรจะดูแลในเบื้องต้นได้ 
3. ทักษะทางด้านทรัพยากรมนุษย์
สำนักงานใหญ่ ๆ หลายแห่ง มีปัญหาในเรื่องของพนักงานไม่ถูกกัน ทำงานร่วมกันไม่ได้ ติดต่อกันไม่เข้าใจเป็นต้น ดังนั้นหากเราเป็นคนมีมนุษย์สัมพันธ์ รู้จักการบริการทรัพยากรมนุษย์ ในเบื้องต้น จะมีประโยชน์ต่อการทำงานมาก รู้วิธีการติดต่อ หรือจัดการเมื่อต้องทำงานร่วมกับบุคคลในประเภทต่าง ๆ 
4. ทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์
นอกจากว่าคุณจะต้องมีความสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างง่าย ๆ เช่น โปรแกรม word, excel , photoshop และโปรแกรมพื้นฐานอื่น ๆ แล้ว ควรจะสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก WWW การส่งอีเมล์ หรือการดาวน์โหลดโปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ถ้าจะให้ดีกว่านั้น ควรจะเรียนรู้การเขียนโปรแกรมง่าย ๆ บางอย่าง เช่น HTML 
5. ทักษะที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นพิเศษ
ซึ่งทักษะดังกล่าวนี้ จะขึ้นอยู่กับว่าเราเรียนมาทางไหน และจะประกอบอาชีพอะไร เช่น ต้องการเป็นพนักงานขาย ก็ควรจะได้รับการฝึกอบรมในเรื่องการขาย การดูแลลูกค้า นักประชาสัมพันธ์ อาจจะได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติมในเรื่องของภาษา เป็นต้น 
6. ทักษะทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
จะเป็นการดียิ่งถ้าหากเราเป็นคนที่เก่งคณะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จะประกอบอาชีพเกี่ยวกับวิศวกรรม การแพทย์ หรือในสาขาที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ 
7. ทักษะการจัดการด้านการเงิน
ผู้ที่มีการวางแผนทางด้านการเงินที่ดี จะได้เปรียบ ปัจจุบันนี้ คนในวัยทำงานจำนวนมาก คำนึกถึงเรื่องของการเก็บออมเพื่อใช้ในช่วงเกษียณกันแล้ว ถ้าหากว่า เราไม่รู้จักบริการการเงินให้ดี จนถึงขั้นต้องกู้หนี้ ยืมสินแล้ว จะกลายเป็นจุดด่างในการงานไปเลยก็ว่าได้ 
8. ทักษะในเรื่องของการจัดการข้อมูล
เนื่องจากว่ายุคนี้เป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร การจัดการข้อมูลของตนเองที่มีอยู่จึงเป็นเรื่องสำคัญ ในยุคนี้ ข้อมูลที่รวดเร็ว สามารถช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้อง ดังนั้น เราควรจะมีการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ให้สามารถเข้าถึง เป็นหมวดหมู่ และค้นหาได้ง่าย 
9. ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ
ถ้าเราสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว มักจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ยิ่งถ้าหากเราสามารถพูดภาษาอื่น ๆ ได้อีกด้วย ก็ยิ่งจะเป็นที่น่าสนใจ ปัจจุบันนี้ มีบริษัทต่างชาติเข้ามาเปิดสาขาในเมืองไทยเยอะ ภาษาอังกฤษ แน่นอนว่ามีความสำคัญ แต่ถ้ายิ่งสามารถพูดภาษาของเจ้าของบริษัทได้อีกด้วยแล้วยิ่งดีใหญ่ อย่างเช่นภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาเยอรมัน เป็นต้น 
10. ทักษะในการบริหารธุรกิจ
เราอาจจะไม่ต้องถึงขนาดไปเรียน MBA เอาแค่ว่า เข้าอบรมระยะสั้น หรือหาตำราในการบริหารมาอ่านสักหน่อย ก็น่าจะไหว เราจะเห็นได้ว่า ธุรกิจใหญ่ ๆ ที่ประสบความสำเร็จ เขาจะมีระบบการจัดการและการบริหารที่ดีด้วย ถ้าหากเรามีความรู้ในเรื่องการบริการ เราก็จะสามารถเข้าใจในนโยบายการจัดการต่าง ๆ ของทางบริษัทได้ด้วย ไม่ใช่เฉพาะผู้บริหารเท่านั้น แต่ระดับปฏิบัติการก็สามารถจะมีความรู้ด้านนี้ เพื่อที่จะแสดงความสามารถในโอกาสที่เปิดให้ ไม่แน่ คุณอาจจะได้รับการโปรโมท ก็เพราะทักษะในการบริหารจัดการนี่แหละ
ท้ายนี้ถ้าเพื่อนๆเป็นครบทั้งสิบข้อ แอด การันตีเลยว่า เพื่อนๆสามารถเป้นเจ้าของธุรกิจได้เลยนะครับ ยังไงก็ขอให้ได้งานทำกันทุกคนครับผม

บทความจาก http://www.TumCivil.com
เรียบเรียงบทความ งานพิดโลก.blogspot.com